สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 26 เมษายน-2 พฤษภาคม 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
ตันละ 500 บาท ปรับเป็น “ให้เกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และสหกรณ์ได้รับตันละ 500 บาท”
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,663 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,608 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,855 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,870 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,690 บาทในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,134 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,944 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,130 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,782 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 162 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,919 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 407 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,888 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,679 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,634 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 45 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,027 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,983 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 44 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6969
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (the Cambodian Ministry of Commerce) ระบุว่า ในระหว่างการประชุมความร่วมมือของสองประเทศ ครั้งที่ 2 (the 2nd Belt and Road Forum for International Cooperation) ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนและกัมพูชาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding)
ในการนำเข้าข้าวจากกัมพูชา จำนวน 400,000 ตัน โดยเป็นการลงนามระหว่างบริษัท Green Trade ที่เป็นตัวแทนของกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชากับหน่วยงาน COFCO ของจีน ซึ่งฝ่ายจีนตกลงจะซื้อข้าวหอมและข้าวขาว (Jasmine, fragrant, and white rice) จากกัมพูชา ในช่วงระหว่าง เดือนสิงหาคม 2562 - ธันวาคม 2563
นาย Hun Lak รองประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) ระบุว่า การลงนามครั้งนี้ถือเป็นข่าวใหญ่ของกัมพูชาและเป็นโอกาสดีที่กัมพูชาจะขยายการส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนมากขึ้น โดยเมื่อช่วงต้นปี2561 ทั้งสองประเทศเคยลงนามในข้อตกลงซื้อขายข้าว จำนวน 300,000 ตัน แต่กัมพูชาไม่สามารถส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนได้ครบตามจำนวนดังกล่าว เนื่องจากมีการส่งออกข้าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ไม่มีข้าวเพียงพอที่จะส่งไปยังประเทศจีน แต่ในปีนี้คาดว่าจะมีการส่งออกไปยังจีนมากขึ้น หลังจากที่การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปมีอุปสรรคมากขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกข้าว จำนวน 75,214 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 44 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา
ทางด้าน กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่า ในปีการตลาด 2562/63 (มกราคม-ธันวาคม 2562) ประเทศกัมพูชาจะมีการส่งออกข้าวประมาณ 1.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.3 ล้านตัน ในปี 2561/62 ซึ่งตัวเลขส่งออกดังกล่าว ได้รวมถึงการส่งออกข้าวผ่านทางแนวชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ไทย และเวียดนาม
ในส่วนของการส่งออกอย่างเป็นทางการผ่านทางท่าเรือ ในปี 2561/62 ที่ผ่านมา มีจำนวน 626,225 ตัน
ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากในปีที่แล้วการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนซึ่งเป็นตลาหลัก มีจำนวนลดลงจากปีก่อน ขณะที่กัมพูชายังไม่สามารถหาตลาดส่งออกใหม่ได้ โดยการส่งออกข้าวส่วนใหญ่จะเป็นข้าวในกลุ่มข้าวหอม
คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 79 ของการส่งออกทั้งหมด ตามด้วยข้าวขาวและข้าวนึ่ง ในสัดส่วนไม่มากนัก
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation; MRF) รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาร์
(the Ministry of Commerce; MOC) ได้ออกแถลงการณ์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจีนได้เพิ่มโควตานำเข้า
ข้าวสารที่มีคุณภาพ ซึ่งไม่รวมข้าวหักหรือปลายข้าวจากเมียนมาร์เป็นปีละ 400,000 ตัน (โดยเป็นการนำเข้าผ่านทางเรือบรรทุกสินค้า) จากปัจจุบันอยู่ที่ปีละ 100,000 ตัน ซึ่งความคืบหน้าครั้งสำคัญดังกล่าว เป็นผลจากการประชุมระเบียงเศรษฐกิจระดับทวิภาคี ครั้งที่ 2 (the 2nd China-Myanmar Economic Corridor Forum) ณ มณฑลยูนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนจะยกระดับมาตรการตรวจสอบการส่งออกข้าวผ่านพรมแดนที่ติดกับเมียนมาร์ด้วย
เพื่อคัดกรองเฉพาะข้าวที่มีคุณภาพ และป้องกันการปลอมปนของข้าวหักหรือปลายข้าว เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดข้อตกลงซื้อขายข้าวระหว่างรัฐต่อรัฐ
ขณะที่มีรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาร์ (MOC) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (memorandum of Understanding; MoU) กับมณฑลยูนนาน (China's Yunnan Province) ของจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง
ทางการค้าของทั้งสองฝ่าย ซึ่งทางการเมียนมาร์ต้องการที่จะลดจำนวนสต็อกข้าว น้ำตาล และข้าวโพดที่เก็บสะสมไว้
ในโกดังสินค้าที่ด่าน Muse เนื่องจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางการจีนได้เข้มงวดในกรณีของการลักลอบ
นำเข้าสินค้าผ่านทางชายแดนมากขึ้น ส่งผลให้มีข้าวประมาณ 1 ล้านถุง ตกค้างอยู่ที่ด่าน Muse ซึ่งการลงนาม MoU
ครั้งนี้ จะช่วยให้มีการส่งออกสินค้าธัญพืชและสินค้าประมงอย่างถูกกฎหมายผ่านทางชายแดน
ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านการเกษตร ปศุสัตว์และประมงของหอการค้าเมียนมาร์ (The Agriculture, Livestock and Fishery Development Committee under the Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry; UMFCCI) จะเป็นผู้ดำเนินการตามบันทึกความเข้าในครั้งนี้ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่
เดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) รายงานว่าในปีงบประมาณ 2561/162 (เมษายน 2561-มีนาคม 2562) มีการ ส่งออกข้าวสารประมาณ 2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 650 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกข้าวหักประมาณ 450,000 ตัน มูลค่าประมาณ 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการส่งออกผ่านทางทะเล ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 52 และการส่งออกผ่านทางชายแดนตอนเหนือ ไปยังประเทศจีนร้อยละ 48
ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (MRF) คาดว่าในปีงบประมาณ 2562/63 นี้ (1 เมษายน 2562-31 มีนาคม 2563) เมียนมาร์จะส่งออกข้าวได้ประมาณ 2.5 ล้านตัน โดยคาดว่าประเทศจีนจะยังคงเป็นตลาดหลัก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ
ร้อยละ 46 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของเมียนมาร์ ขณะที่การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป มีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของมาตรการภาษีนำเข้าข้าวของสหภาพยุโรป ที่ประกาศใช้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่า ในปีการตลาด 2562/63 (มกราคม-ธันวาคม 22562) เมียนมาร์ส่งออกข้าวได้ประมาณ 3 ล้านตันข้าวสาร เท่ากับปี 2561/62 โดยคาดว่าจะมีการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน (ผ่านทางเรือ/อย่างเป็นทางการ) มากขึ้น หลังจากทางการเมียนมาร์ร้องขอให้รัฐบาลจีน เพิ่มโควตานำเข้าข้าวจากจีน
ปีละ 400,000 ตัน ซึ่งคาดว่าทั้งสองประเทศจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding; MOU) ในเดือนเมษายนนี้ โดยคาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนได้มากขึ้นนี้ จะช่วยชดเชยผลกระทบจากมาตรการภาษีนำเข้าข้าวของสหภาพยุโรป ทำให้การส่งออกข้าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปนั้น มีแนวโน้มลดลง
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
ฟิลิปปินส์
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้ออกระเบียบปฏิบัติการนำเข้าข้าว Implementing Rules and Regulations (IRR) of RA 11203 ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของกฎหมาย RA 11203 รัฐบาลฟิลิปปินส์จะเก็บภาษีนำเข้าแทนการจำกัดการนำเข้า
เพื่อปกป้องผู้ผลิตในประเทศ และประกันความมั่นคงด้านอาหารให้กับคนในชาติ
2. ยกเลิกอำนาจหน้าที่ขององค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority: NFA) ในการออกใบอนุญาต การจดทะเบียน สำหรับผู้นำเข้าข้าว ผู้ค้า ผู้ดำเนินการคลังสินค้า ผู้ค้าส่ง ปลีก และอื่นๆ
3. สำหรับผู้นำเข้าทุกราย ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าและรับรองสุขอนามัย และสุขนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Import Clearance: SPIC) จากกรมอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) ก่อนการนำเข้าเป็นรายครั้ง
4. อัตราภาษีนำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน จะเก็บตามข้อตกลง ATIGA หรือเท่ากับร้อยละ 35
ซึ่งต้องมีการยื่น ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยทุกครั้ง
5. กรณีขาดแคลนข้าว ประธานาธิบดีมีอำนาจสั่งการให้รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (DTI)
และสภาหอการค้าของฟิลิปปินส์ (Philippine International Trading Corporation: PITC) ทำสัญญากับผู้ค้าเอกชนนำเข้าข้าว เพื่อเพิ่มการแข่งขันในตลาดและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว
6. หน้าที่ของ NFA มีเพียงรักษาปริมาณสต็อกข้าวสำรอง ที่มาจากชาวนาในประเทศเท่านั้น
7. มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมข้าวของฟิลิปปินส์ โดยรัฐบาล
จะจัดสรรเงิน 10 พันล้านเปโซ เป็นเวลา 6 ปี
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290.25 ดอลลาร์สหรัฐ (9,199 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 293.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,297 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 98 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 358.96 เซนต์ (4,539 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 338.96 เซนต์ (4,283 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.90 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 256 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 31.55 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 7.42 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2562
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.66 ล้านตัน (ร้อยละ 5.25 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.14 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง แต่ราคามันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์ดี ถึงแม้เชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังจะลดลง ทั้งนี้โรงงานแป้งมันสำปะหลังบางแห่งหยุดดำเนินการผลิตเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.09 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.12 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.42
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.21 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.77
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.29 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.16
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.71 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 13.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน

 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.600 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.288 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.668 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม คิดเป็นร้อยละ 4.08 และร้อยละ 4.00 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 1.82 บาท ลดลงจาก กก.ละ 1.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.14                                                         
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 15.90 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 14.94 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.43  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,988.42 ดอลลาร์มาเลเซีย  (15.59 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,110.99 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.81  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 527.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (16.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 535.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.40  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา      
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 842.40 เซนต์ (9.94 บาท/กก.) ลดลงจาก
บุชเชลละ 863.35 เซนต์ (10.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.43
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 296.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.52 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 302.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.99
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.52 เซนต์ (19.48 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.08 เซนต์ (19.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.04 

 
 

 
ยางพารา

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 52.36 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.72 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.31 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.22 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.31
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.72 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.32
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.84 บาท เพิ่มขึ้นจาก 22.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.67 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.02
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.25 บาท เพิ่มขึ้นจาก 18.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.43 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.28
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.16 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.94 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.13
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.33 บาท เพิ่มขึ้นจาก 57.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.18 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.82 บาท คงที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.33 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.91
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.93 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.57 บาท คงที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.91
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 174.60 เซนต์สหรัฐฯ (55.34 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 171.88 เซนต์สหรัฐฯ (54.43 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.72 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 187.10 เยน (52.74 บาท) ลดลงจาก 187.18 เยน (52.51 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.08 เยน หรือลดลงร้อยละ 0.04


 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.03 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 23.84 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.40
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.25 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00
 ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.25 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 16.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.25 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 913.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 914.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 826.75 ดอลลาร์สหรัฐ (26.21 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 819.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.26 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 834.75 ดอลลาร์สหรัฐ (26.46 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 819.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.51 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 541.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.15 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 533.60 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.25 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 883.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 877.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.24 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 12.72
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 24.01
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
       ราคาที่เกษตรกรขายได้
       ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
       ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
       ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 75.88 (กิโลกรัมละ 53.74 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 77.45 เซนต์ (กิโลกรัมละ 54.80 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.03 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.06 บาท

 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,626 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,621 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,303 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,297 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.46
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 852 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 842 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.19   

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้สุกรเจริญเติบโตช้า  ทำให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  69.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.34  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 70.76 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.70 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.47 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.42 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 72 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50  บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากความต้องการบริโภคสอดรับกับปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.86 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.10 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  34.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวลงเล็กน้อยจากตลาดหลักของไข่ไก่สถานศึกษายังคงปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 263 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 264 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 292 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 251 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 15.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 20.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 289 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 281 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.85

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  320 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 321 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 303 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.07 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.57 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.07 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.82 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 86.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย     จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 144.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.11 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.88 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 142.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 138.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา